วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561


การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11

วันอังคาร ที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2561

เวลา ( 08:30 – 11:30 น. )


ความรู้ที่ได้รับ
           อาจารย์ให้นำเสนองานสัมภาษณ์ครูปฐมวัยในโรงเรียนที่สนใจและตามหัวข้อ 5 ข้อค่ะ เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย



   








         
ประเมินตัวเอง : วันนี้ตั้งใจนำเสนอมากค่ะ แต่มีข้อผิดพลาดเยอะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังกันมากค่ะ เพราะกลุ่มดิฉันเปิดไม่ได้มีแต่เสียง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ยังน่ารักเหมมือนเดิม คอยให้ข้อเสนอแนะ กำลังใจ





การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10

วันอังคาร ที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2561

เวลา ( 08:30 – 11:30 น. )


ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้อาจารย์ในเรื่อง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้เกริ่นนำถึงความหมาย


ความหมายของคำว่า จริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
“จริยธรรม คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร”
“จริยธรรม คือ หลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ”


ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
      โคลเบอร์ก เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อม ๆ กับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ
-ระดับก่อนกฎเกณฑ์
-ระดับกฎเกณฑ์สังคม
-ระดับเลยกฎเกณฑ์ของสังคม
ตามกฎเกณฑ์ที่ ผู้อื่นกำหนดโดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การหลีกเลี่ยงการลงโทษและการทำตามคำสั่ง
ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังรางวัลส่วนตัว           

ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เป็นผู้เสนอทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ดังนั้นการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมของเด็กจึงขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่จะตัดสินว่า พฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมที่เหมาะสม แล้วนำมาใช้ในการอบรมปลูกฝังเด็ก

ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดของแบนดูรา
     แบนดูรา (Bandura) นักจิตวิทยาสังคม อธิบายว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้ โดยการสังเกตจากตัวแบบ
พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดนี้มี  4 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการตั้งใจ
ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการเก็บจำ
ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการกระทำ
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการจูงใจ
          แล้วต่อไปอาจารย์ก้จะพูดถึงวิธีการสอนจริยธรรมในเด็กปฐมวัย กระบวนการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย แล้วก็ 8 คุณธรรมขั้นพื้นฐานที่เด็กควรปฏิบัติ
     


สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท
1.     สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล
2.     สิ่งแวดล้อมภายนอก

ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากบทบาทที่แสดงอยู่เปลี่ยนไปก็จะส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหมายความว่าการกระทำของเด็กคนหนึ่งจะมีผลต่อคนที่อยู่รอบๆ ข้าง และผลจากการกระทำของคนที่อยู่รอบๆ ข้าง จะมีผลกระทบต่อเด็ก

ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ
1. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
2. ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
4. ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก

การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
1.     การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
2.     การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน
- สนาม
- สวนในโรงเรียน
           
ประเมินตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และทำความเข้าใจในเรื่องการจัดสภาพแวดล้อม
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟัง แต่จะมีแต่ส่วนมากที่ตั้งใจฟังค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ก็สอนได้ดีเหมือนเดิม ชอบค่ะ ทำให้รู้สึกอยากเรียนทุกครั้ง



วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561


การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9

วันอังคาร ที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2561

เวลา ( 08:30 – 11:30 น. )


ความรู้ที่ได้รับ
          อาจารย์นัดสอบกลางภาคนอตาราง 
         
ประเมินตัวเอง : ทำไม่ค่อยได้แต่ก็ตั้งใจทำเท่าที่ทำได้ค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจและจริงจังกับการทำข้อสอบมาก
ประเมินอาจารย์ : คอยดูนักศึกษาสอบเสร็จเพื่อนที่จะประเมินผลที่เรียนมาในเทอมแรก






การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8

วันอังคาร ที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2561

เวลา ( 08:30 – 11:30 น. )


ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้อาจารย์ได้สอนเนื้อหาคือบทที่ 5 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้สรุปให้ฟังอย่างละเอียดพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประเด็นต่างๆ 


รูปแบบของการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ก็จะประกอบไปด้วย
-ความหมายของการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
-ความสำคัญของพ่อแม่ในการเลี้ยงดู
-บทบาทหน้าที่ของพ่อแม่
-บทบาทของแม่แม่ที่ไม่เหมาะสม
-ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก
-วิธีอบรมเลี้ยงดู


ประเมินตัวเอง : วันก็อาจจะง่วงบ้างเป็นบางตอน เพราะวันนี้มีเนื้อหาเยอะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์กันเป็นอย่างดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายได้ดี ทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี







การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7

วันอังคาร ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

เวลา ( 08:30 – 11:30 น. )


ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนออกไปเล่าบทความของตัวเองเกี่ยวกับ การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย แต่ละคนออกไปเล่าได้ดีมากค่ะ เพื่อนๆก็คอยปรบมือและตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกไปเล่าบทความ
         





ประเมินตัวเอง : วันนี้เป็นวันที่สบายมากจ้ะ รู้สึกว่าตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆต่างนำเสนอกันได้ดีมากค่ะ ทุกคนช่วยฟังเพื่อนกันดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์นั่งฟังบทความที่ทุกคนเล่า และคอยเสริมส่วนอื่นในเพื่อนในห้องได้เข้าใจมากขึ้นค่ะ







การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6

วันอังคาร ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

เวลา ( 08:30 – 11:30 น. )

ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอเกี่ยวกับทฤษฎีของนักศึกษาปฐมวัย






 ประเมินตัวเอง : วันนี้ได้ทำให้ตัวเองกล้าแสดงในการพูด การนำเสนอได้ดีมากขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆต่างนำเสนอกันได้ดีมากค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เปิดโอกาสให้เราให้เป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่เพื่อน และคอยเสริมหรืออธิบายสรุปแต่ละทฤษฎีอีกด้วยค่ะ





การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

เวลา ( 08:30 – 11:30 น. )


ความรู้ที่ได้รับ
  
วันนี้อาจารย์ได้ให้ออกมานำเสนองานจากอาทิตย์ที่แล้ว คือ ความต้องการของเด็กปฐมวัย ตอนแต่ละกลุ่มออกไปอาจารย์ก็ได้ให้ข้อเสนอในเทคนิคการพูดการนำเสนอรวมถึงเนื้อหาว่าในแต่ละด้านควรเป็นอย่างไรถึงจะเหมาะสม

         


บรรยากาศในห้อง

      
จากที่ทุกกลุ่มได้นะเสนอครบแล้ว อาจารย์ก็มาสรุปให้ฟังอีกที พร้อมทั้งถามและแสดงความคิดเห็นไปพร้อมๆกัน ใน 4 ด้านของความต้องการของเด็ก

ประเมินตัวเอง : วันนี้ได้ทำให้ตัวเองกล้าแสดงในการพูด การนำเสนอได้ดีมากขึ้น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆต่างนำเสนอกันได้ดีมากค่ะ เข้าใจถึงเนื้อหา

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เปิดโอกาสให้เราให้เป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่เพื่อน และคอนเสริมหรืออธิบายอีกด้วยค่ะ
     







การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4

วันอังคาร ที่ 30 มกราคม พ.ศ.2561

เวลา ( 08:30 – 11:30 น. )

ความรู้ที่ได้รับ
  
          อาจารย์ได้ให้อธิบายถึงความต้องการของเกปฐมวัย แล้วอาจารย์ให้จับกลุ่ม หลุ่มละ 5 คน ให้ทำแผนผังออกมานำเสนอ ในหัวข้อความต้องการสำหรับเด็กปฐมวัยดังนี้
-         ความต้องการสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง
-         ครู จะมีวิธีตอบสนองความต้องการเด็กอย่างไร
-         พ่อแม่ ผู้ปกครอง จะมีวิธีตอบสนองความต้องการอย่างไร





ในกลุ่มเราก็จะร่างใส่กระดาษไว้ก่อน แล้วก็แบ่งหน้าที่กันว่าใครเขียน ออกแบบ หาข้อมูล และกลุ่มเราจะแบ่งออกเป็นแต่ละด้านว่าความต้องการของเด็กปฐมวัยเป็ยอย่างไร คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และสติปัญญา

การทำงานของกลุ่มเพื่อนๆ



ประเมินตัวเอง : วันนี้สนุกมากค่ะเพราะได้ทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อน ทำให้เราได้มีส่วนร่วมในการทำงานเป็นกลุ่ม
ประเมินเพื่อน : เพื่อนช่วยเหลือกันทำงานเป็นกลุ่มได้ดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : วันนี้ชอบอาจารย์สอนค่ะเพราะให้เราให้หาข้อมูลกันเอง ช่วยกันคิดและแสดงความคิดเห็น