วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561


การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10

วันอังคาร ที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2561

เวลา ( 08:30 – 11:30 น. )


ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้อาจารย์ในเรื่อง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้เกริ่นนำถึงความหมาย


ความหมายของคำว่า จริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
“จริยธรรม คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร”
“จริยธรรม คือ หลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ”


ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
      โคลเบอร์ก เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อม ๆ กับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ
-ระดับก่อนกฎเกณฑ์
-ระดับกฎเกณฑ์สังคม
-ระดับเลยกฎเกณฑ์ของสังคม
ตามกฎเกณฑ์ที่ ผู้อื่นกำหนดโดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การหลีกเลี่ยงการลงโทษและการทำตามคำสั่ง
ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังรางวัลส่วนตัว           

ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เป็นผู้เสนอทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ดังนั้นการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมของเด็กจึงขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่จะตัดสินว่า พฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมที่เหมาะสม แล้วนำมาใช้ในการอบรมปลูกฝังเด็ก

ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดของแบนดูรา
     แบนดูรา (Bandura) นักจิตวิทยาสังคม อธิบายว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้ โดยการสังเกตจากตัวแบบ
พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดนี้มี  4 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการตั้งใจ
ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการเก็บจำ
ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการกระทำ
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการจูงใจ
          แล้วต่อไปอาจารย์ก้จะพูดถึงวิธีการสอนจริยธรรมในเด็กปฐมวัย กระบวนการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย แล้วก็ 8 คุณธรรมขั้นพื้นฐานที่เด็กควรปฏิบัติ
     


สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท
1.     สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล
2.     สิ่งแวดล้อมภายนอก

ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากบทบาทที่แสดงอยู่เปลี่ยนไปก็จะส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหมายความว่าการกระทำของเด็กคนหนึ่งจะมีผลต่อคนที่อยู่รอบๆ ข้าง และผลจากการกระทำของคนที่อยู่รอบๆ ข้าง จะมีผลกระทบต่อเด็ก

ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ
1. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
2. ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
4. ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก

การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
1.     การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
2.     การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน
- สนาม
- สวนในโรงเรียน
           
ประเมินตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และทำความเข้าใจในเรื่องการจัดสภาพแวดล้อม
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟัง แต่จะมีแต่ส่วนมากที่ตั้งใจฟังค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ก็สอนได้ดีเหมือนเดิม ชอบค่ะ ทำให้รู้สึกอยากเรียนทุกครั้ง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น